ประเพณีท้องถิ่น

ประเพณีท้องถิ่น

สุโขทัยเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยสีสันหลากหลาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งธรรมชาติ อีกทั้งผู้คนในท้องถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม และประเพณีดั้งเดิมอันงดงามไว้ได้อย่างเข้มแข็ง ตลอดทั้งปีมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองและงานประเพณีที่สำคัญ เช่น งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ งานวันพ่อขุนรามคำแหง ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ศรีสัชนาลัย

 งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

 

สถานที่จัดงาน

พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

เป็นการจัดงานเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาวไทย

กิจกรรมภายในงาน :

 ภาคเช้า

– กิจกรรมรับรุ่งอรุณแห่งความสุข

– พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

– ขบวนแห่เทิดพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาชน

– การแสดงศิลปะพื้นบ้าน กระบี่กระบอง

– การแข่งขันกีฬาไทย

– การประกวดเรียงความร้อยแก้ว ร้อยกรอง

ภาคกลางคืน

– การแสดงแสงเสียง “อานุภาพพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

– การประกวดลูก หลาน เหลน พ่อขุนรามคำแหง

– มหกรรมคอนเสิร์ต ศิลปิน นักร้อง

– การแสดงโขน นาฏศิลป์

– การแสดงลิเก, ศิลปะพื้นบ้าน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย โทร. 0-5561-1348

สำนักงานจังหวัดสุโขทัย โทร./โทรสาร 0-5561-1619

การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

สถานที่จัดงาน วัดสระศรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

งานกล้วยไม้ช้างชนช้าง

สถานที่จัดงาน อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงนิทรรศการกล้วยไม้การประกวดและจัดการแสดงกล้วยไม้สุโขทัยประกวดจัดสวนหย่อมประกวกสุนัข นกและไก่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมกล้วยไม้สุโขทัยสำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

งานประเพณีการทำขวัญผึ้ง

สถานที่จัดงาน วัดศรีสุวรรณุาราม

กิจกรรม – พิธีทำขวัญผึ้ง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

อบต. ศรีคีรีมาศ

งานประเพณีการทำขวัญผึ้ง

สถานที่จัดงาน  ต้นยาง (ต้นประดาผึ้ง) ริมคลองข้างในบริเวณ วัดศรีคีรีสุวรรณาราม ต.ศรีคีรีมาศ  จ.สุโขทัย อ. คีรีมาศ จ.สุโขทัย

ตำบลศรีคีรีมาศ หรือบ้านท่าดินแดงในสมัยเดิมมีประเพณีการทำขวัญผึ้งเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากการส่งส่วยน้ำผึ้งแทนแรงงานราษฎรของชาวตำบลศรีคีรีมาศ การส่งส่วยเป็นการปฏิบัติตามพระราชกำหนดที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  ซึ่งกำหนดไว้ว่าชายฉกรรจ์ไทยที่มีร่างกายสมประกอบมิได้เป็นบรรพชิต นักบวช มิใช่ไพร่สมสังกัดเจ้าขุนมูลนายใด ๆ ท่านให้สักข้อมือขึ้นบัญชีเป็นไพร่หลวง สังกัดนครหลวงหรือหัวเมืองต่าง ๆ เป็นกำลังของบ้านเมืองและประเทศชาติ และจะต้องไปเข้าเวรรับราชการให้หลวงท่านใช้แรงงานตลอดช่วงอายุ 18-60 ปี

อยุธยาตอนปลาย จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้มีการลดหย่อนให้ไพร่หลวงที่เกินความต้องการใช้แรงงาน ไม่ต้องเข้ารับราชการ โดยเสียค่าส่วยแทนแรงงานได้ หัวเมืองที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงไม่ต้องการตัวไพร่เข้าประจำการจึงได้กำหนดให้มีการส่งส่วยสิ่งของแทนแรงงาน เพราะหัวเมืองเหล่านี้มีป่าดงและภูเขา ซึ่งมีสิ่งที่บ้านเมืองหรือพระมหากษัตริย์ต้องการ

ชาวตำบลศรีคีรีมาศอาศัยอยู่เชิงเขาหลวง ซึ่งอุดมไปด้วยป่าไม้และรังผึ้งมากมาย ต้องส่งส่วยน้ำผึ้งติดต่อกันมาเป็นเวลานาน การหารังผึ้ง การตีผึ้ง การทำขี้ผึ้ง จึงเป็นสิ่งที่ผูกพันกับการดำรงชีวิตของชาวตำบลศรีคีรีมาศตลอดมา ด้วยเหตุที่ต้องการให้มีผึ้งมาทำรังตามต้นไม้มาก ๆ จะไม้มีน้ำผึ้งเพียงพอแก่การส่งส่วยตามจำนวนที่เมืองหลวงกำหนด จึงได้เกิดประเพณีการทำขวัญผึ้งขึ้น ซึ่งเป็นการอัญเชิญผึ้งให้มาทำรังตามต้นไม้ที่ผึ้งเคยเกาะอยู่ ประเพณีการทำขวัญผึ้งจึงได้รับการปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เพิ่งจะมาสูญหายไปเมื่อประมาณ 40 ปี เศษมานี้เอง

ต่อมาจึงได้มีการดำเนินการฟื้นฟูประเพณีทำขวัญผึ้งขึ้นในตำบลศรีคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งตรงกับวันครูที่ 16 มกราคม 2526   เพื่อเป็นการศึกษา วิเคราะห์ประเพณี รวมทั้งอนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีการทำขวัญผึ้งสืบต่อไป

กิจกรรมภายในงาน

– การประกอบพิธีทำขวัญผึ้ง

– การสาธิตการตีผึ้ง

– กิจกรรมอื่น ๆ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม 

องค์การบริหารส่วนตำบลศรีคีรีมาศ อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย

งานปิดทองหลวงพ่อสองพี่น้อง

สถานที่จัดงาน  วัดหนองโว้ง หมู่ที่ 1 ต.เมืองบางยม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย

พระอุปัชฌาย์พุก ได้อันเชิญหลวงพ่อสองพี่น้องจากวัดปากน้ำมายังวัดหนองโว้ง เมื่อปี 2456 นับตั้งแต่นั้นมาหลวงพ่อสองพี่น้องก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดหนองโว้งจนถึงปัจจุบัน และเป็นที่เคารพเลื่อมใสของประชานชาวตำบลเมืองบางยมและตำบลใกล้เคียงอย่างมาก มีการจัดงานปิดทองหลวงพ่อสองพี่น้องเป็นประจำทุกปี คราวละ 5 วัน 5 คืน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม 

วัดหนองโว้ง

ที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก   โทร. 0-5564-1048

การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

สถานที่จัดงาน วัดสระศรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

งานประจำปีของดีคีรีมาศและบวงสรวงพระแม่ย่า

สถานที่จัดงาน วัดสระศรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

งานประจำปีสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาดประจำปี 2552

สถานที่จัดงาน ศาลพระแม่ย่า ศาลากลางจังหวัดสุโขททัย

กิจกรรม – งานบวงสรวงพระแม่ย่าการแสดงมหรสพ การจำหน่ายสินค้า otop

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สำนักงานจังหวัดสูโขทัย

งานประเพณีแห่หลวงพ่อสามพี่น้องวัดบ้านซ่าน

กำหนดจัดงาน  (ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี) วันตรุษไทย
สถานที่จัดงาน  บริเวณวัดบ้านซ่าน หมู่ที่ 2 ต.บ้านซ่าน อ. ศรีสำโรง จ.สุโขทัย

หลวงพ่อสามพี่น้องเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ เดิมประจำอยู่ที่วัดโบสถ์ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ประชาชนชาวตำบลบ้านซ่านได้อาราธนามาประจำที่วัดบ้านซ่านโดยการอธิษฐานว่า ในเดือน 4 ขึ้นปีใหม่ จะมีปี่พาทย์ ฆ้อง กลอง แห่ให้ทุกปี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาชาวตำบลบ้านซ่านได้ปฏิบัติเป็นประจำทุกปี

กิจกรรม

ในช่วงกลางคืนทุกคืนมีการแสดงมหรสพโดยเฉพาะลิเก

– วันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 มีการก่อพระทราย สวดมนต์

– วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 เช้าทำบุญตักบาตร

* เวลา 08.30-09.00 น. จัดขบวนแห่หลวงพ่อสามพี่น้องไปวัดปาดคลองแดน

* เวลา 13.00 น. อัญเชิญหลวงพ่อสามพี่น้องกลับมายัง วัดบ้านซ่าน

– วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เช้าทำบุญตักบาตร และสรงน้ำหลวงพ่อตลอดวัน

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม 

อบต.บ้านซ่าน  โทร./โทรสาร 0-5568-5202

สภาวัฒนธรรมตำบลบ้านซ่าน (วัดบ้านซ่าน) โทร.0-5568-5203

การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

สถานที่จัดงาน วัดสระศรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

งานหมากม่วงหมากปราง

สถานที่จัดงาน อำเภอสวรรคโลก

กิจกรรม – งานหมากม่วงหมากปราง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

การแสดงมินิไลทืแอนด์ซาวด์เรื่องเมืองสุโขทัย

สถานที่จัดงาน วัดสระศรีอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

กิจกรรม – การแสดงมินิไลท์แอนท์ซาวด์ เรื่องเมืองสุโขทัย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

สมาคมการท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย

กำหนดจัดงาน  วันที่  4 เมษายน 2551
สถานที่จัดงาน  บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย   ถ.นิกรเกษม ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย

งานเบิกฟ้ามหาประเพณีศรีสัชนาลัยมรดกโลก

สถานที่จัดงาน  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยและอนุสาวรีย์พระยาลิไท  อำเภอศรีสัชนาลัย

อำเภอศรีสัชนาลัยมีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีหลากหลายแต่ดั้งเดิมมาเป็นหลายร้อยปี แต่แยกกันส่งเสริมเฉพาะด้านและยังมีประเพณีตามพงศาวดารที่น่าสนใจ อาทิเช่น พิธีบูชาไฟสมัยพญาลิไท, การล่องเรือแห่รอยพระพุทธบาทที่พญาลิไทโปรดให้จำลองมาจากเกาะลังกาในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น สมควรที่จะบูรณาการให้เป็นเทศกาลต่อเนื่อง

 

กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย

  1. ขบวนเรือพิธีอัญเชิญรอยพุทธบาทจำลองทางชลมาศ
    2. แสดงสินค้า OTOP
    3. เทศการอาหาร
    4. ประกวดนางงาม
    5. แข่งเรือ
    6. แห่ช้างพ่อเมือง
    7. รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
    8. – ตักบาตรพระเขาวัดพนมเพลิงพระ 109 รูป
    – สลากภัตรพระ 109 รูป

ประเพณีสรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย

สถานที่จัดงาน  อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย หมู่ที่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

กิจกรรมภายในงาน
–          การรับประทานอาหารมื้อค่ำท่ามกลางโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย
–          การชมแสงเสียง ณ โบราณสถานวัดช้างล้อม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
–          ชมขบวนสงกรานต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลและเทศบาลตำบลทั้งสองแห่งในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย

ร่วมตักบาตรทำบุญงานสงกรานต์
–          สรงน้ำพุทธรูปสำคัญ-พระภิกษุ-และรดน้ำผู้สูงอายุชาย 5 คน หญิง 5 คน ของทุกหมู่บ้าน
–          มหรสพร่วมสมัยแลมหกรรมสินค้าพื้นเมือง ณ ลานพระบรมนุสาวรีย์พญาลิไท
–          กิจกรรมเล่นไฟ ณ หนองช้างเชิงเขาพระศรี

หน่วยงานรับผิดชอบ 

– สำนักงานเทศบาลตำบลศรีสัชนาลัย โทร. 0-5567-9153, 0-5567-9058

– สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย  โทร. 0-5567-9211

– ที่ว่าการอำเภอศรีสัชนาลัย  โทร. 0-5567-1466

งานสรงน้ำเจ้าเมืองด้ง

 

สถานที่จัดงาน  บริเวณอนุสาวรีย์เจ้าหมื่นด้ง

รายละเอียด/ความเป็นมา

ประเพณีสรงน้ำเจ้าเมืองด้งของตำบลบ้านตึก สืบทอดต่อกันมายาวนานมาก จากเอกสารข้อมูลตำบลบ้านตึก มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2017 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2547 รวม 530 ปี เพื่อแสดงความรักและความเคารพบูชาของชาวตำบลบ้านตึกที่มีต่อเจ้าหมื่นด้ง โอรสของเจ้าหมื่นโลกสามล้าน เจ้าเมืองนครลำปาง ซึ่งได้มาตั้งกองกำลังคุมเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จึงจัดพิธีบวงสรวง ซึ่งกิจกรรมในการบวงสรวงจะเน้นกิจกรรมที่เจ้าหมื่นด้งชื่นชอบ ซึ่งเจ้าหมื่นด้งเป็นผู้กล้าหาญ ฉะนั้นกิจกรรมหรือการละเล่นในงานที่จะขาดไม่ได้คือ มวยและขบวนแห่ช้าง

กิจกรรมภายในงาน

  1. การบวงสรวงเจ้าหมื่นด้ง
  2. การแห่งช้างสรงน้ำเจ้าหมื่นด้ง
  3. การรำถวายเจ้าหมื่นด้ง
  4. การแสดงมหรสพ เช่น มวย, ลิเก ฯลฯ

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตึก

ประเพณีสงกรานต์

สถานที่จัดงาน  วัดเชิงผา  อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

วันสงกรานต์ คือ วันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งได้แก่วันที่ 13 เมษายนของทุกปี ทางภาคเหนือแบ่งพิธีของวันสงกรานต์ออกเป็น 3 วันคือ
–          วันที่ 13  เมษายน  เรียกว่า  “วันสังขานต์ล่อง”  หมายถึง วันที่ปีเก่าผ่านพ้นไป
–          วันที่ 14  เมษายน  เรียกว่า   “วันเนา” หรือ “วันดา”      หมายถึงวันสำคัญของปีใหม่

–          วันที่ 15 เมษายน  เรียกว่า    “วันพญาวัน” หมายถึงวันสำคัญของปีใหม่

ในวันสงกรานต์นั้น ถือเป็นประเพณีที่จะต้องประกอบการบุญการกุศล เลี้ยงพระฟังธรรมรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนมีการละเล่นรื่นเริงต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน

กิจกรรมภายในงาน

กิจกรรมผ่ายในหน่วยงานประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมขึ้นไปกราบนมัสการครูบาติ๊บอุบาลี  ซึ้งเป็นพระพุทธรูปที่เป็นที่เคารพของชาวบ้านตำบลกลางดง  ในวันที่ 13 เมษายน หรือวันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัดยิงปืนเพื่อขับไล่เสนียดจัญไรให้ไปกับปีเก่าตั้งแต่เช้ามืด วันที่ 14 เมษายน  หรือวันดา ถือว่าเป็นวันมงคลที่ต้องทำจิตใจให้แจ่มใสไม่พูดหรือกระทำอะไรที่ไม่เป็นมงคล ในช่วงเช้าจะมีการเตรียมข้าวของและอาหารต่าง ๆ เพื่อนำไปถวายพระและแจกจ่ายญาติมิตรในวันรุ่งขึ้น ส่วนในช่วงบ่ายจะเป็นการขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทรายและรดน้ำสาด

 

กัน วันที่ 15 เมษายน หรือวันพญาวัน ในช่วงเช้าจะนำสำรับอาหารไปถวายพระที่วัด นำช่อตุงไปประดับพระเจดีย์ทราย ฟังเทศน์ ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพรุพุทธรูป หระสงฆ์และกู่บรรจุอัฐิบรรพบุรุษ นอกจากนั้นยังมีการไปรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ซึ่งเครื่องดำหัวประกอบด้วย เสื้อผ้า ข้าวตอก ดอกไม้ ผลไม้ อาหารต่าง ๆและน้ำส้มป่อย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ/ติดต่อสอบถาม

ที่ว่าการอำเภอทุ่งเสลี่ยม  โทร. 0-5565-9113

 

 

Leave a comment